ความดันโลหิตสูง ‘ภัยเงียบ’ ที่คร่าชีวิตคนทั่วโลก ผลสำรวจพบคนไทยเกือบครึ่งไม่รู้ว่าป่วย!
เนื่องในวันความดันโลหิตสูงโลก มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ แนะวิธีป้องกัน ‘ภัยเงียบ’ ที่คร่าชีวิตคนไทย
หนึ่งในโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ฝังรากลึกในสังคมไทย ยกให้ โรคความดันโลหิตสูง และเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ และโรคไต รวมถึงการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับโรคเหล่านี้
ตามข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) คนไทยวัยผู้ใหญ่กว่า 1 ใน 4 มีภาวะความดันโลหิตสูง แต่มีเพียง 30% เท่านั้นที่สามารถควบคุมความดันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โรคนี้จึงนับว่าเป็น “ภัยเงียบ” เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่รู้ตัว เนื่องจากไม่แสดงอาการใดๆ โดยจากผลการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายแห่งชาติ (National Health Examination Survey) พบว่าเกือบครึ่งหนึ่งของผู้ใหญ่ชาวไทยที่มีภาวะความดันโลหิตสูง และไม่ทราบว่าตนเองกำลังเผชิญกับโรคนี้
เนื่องในวันความดันโลหิตสูงโลก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ (SGU) ประเทศเกรนาดา หมู่เกาะเวสต์อินดิส ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการตรวจพบโรคความดันโลหิตสูงตั้งแต่เนิ่น ๆ รวมถึงสาเหตุและวิธีการป้องกันอย่างเหมาะสม
อาหารและความเครียดคือปัจจัยสำคัญ
การบริโภคอาหารฟาสต์ฟู้ด ขนมขบเคี้ยวแปรรูป เครื่องดื่มชูกำลัง และอาหารที่มีเนื้อแดงสูงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้รูปแบบการกินแบบดั้งเดิมถูกเปลี่ยนแปลงไป กลายเป็นพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อสุขภาพในระยะยาว องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่า คนไทยบริโภคโซเดียมมากกว่า 4,000 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งสูงกว่าปริมาณที่แนะนำถึงสองเท่า
ความดันโลหิตสูง (HTN) ไม่ได้เป็นเพียงปัญหาด้านโภชนาการเท่านั้น แต่ยังเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับความกดดันในชีวิตและความเครียดทางจิตใจ ทั้งค่าครองชีพที่สูง การจราจรติดขัด การใช้เทคโนโลยีมากเกินไป และชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพเหล่านี้
ลักษณะภัยเงียบของความดันโลหิตสูง
ความละเอียดอ่อนของความดันโลหิตสูง (HTN) นับว่าเป็นหนึ่งในลักษณะอันตรายที่สุดของโรคนี้ ซึ่งหลายคนอาจมีภาวะนี้มาหลายปีโดยไม่มีอาการชัดเจน และมีการทำลายระบบหลอดเลือดหัวใจที่อาจเกิดขึ้นแล้วก่อนที่จะมีอาการ เช่น ปวดหัวรุนแรง เวียนศีรษะ หรือปัญหาด้านการมองเห็น
การตรวจพบแต่เนิ่นๆ ไม่เพียงแต่สำคัญเท่านั้น แต่ยังสามารถช่วยชีวิตได้ ซึ่งการตรวจสุขภาพเป็นประจำยังไม่ได้รับการใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มักมองว่าโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคของผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตาม ความดันโลหิตสูงกำลังถูกวินิจฉัยเพิ่มมากขึ้นในผู้ที่มีอายุช่วงปลาย 20 ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยงอย่างโรคอ้วน การสูบบุหรี่ และความเครียดเรื้อรัง
การป้องกันคือกุญแจสำคัญ
1. การสร้างความตระหนักรู้ในสาธารณชน: กระทรวงสาธารณสุขของไทยกำลังดำเนินโครงการระดับชาติ (พ.ศ. 2559–2568) เพื่อลดการบริโภคโซเดียมในประชากรไทย โดยแผนดังกล่าวครอบคลุมการเฝ้าระวัง การให้ความรู้แก่ประชาชน การกำหนดกฎระเบียบด้านฉลากอาหาร การปรับสูตรผลิตภัณฑ์อาหาร การวิจัย รวมถึงการเน้นการให้ความรู้แก่ผู้บริโภค เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน
2. การตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มต้น: การตรวจวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอควรกลายเป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตร โดยเฉพาะในกลุ่มวัยทำงานและคนรุ่นใหม่ แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปควรส่งเสริมให้ผู้ป่วยไม่ละเลยการตรวจความดัน ขณะเดียวกันก็สามารถใช้เครื่องมือดิจิทัล โปรแกรมสุขภาพในที่ทำงาน หรือหน่วยตรวจสุขภาพเคลื่อนที่ เพื่อให้เข้าถึงได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น
3. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน: การป้องกันโรคความดันโลหิตสูงจำเป็นต้องเริ่มจากการปรับกิจวัตรประจำวัน เช่น ลดการบริโภคขนมขบเคี้ยวที่มีรสเค็ม หันมารับประทานผักและผลไม้ ลดการกินเนื้อแดง ดื่มน้ำให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และหาวิธีลดความเครียด เช่น การฝึกโยคะหรือสติ (mindfulness)
ความร่วมมือระหว่างประชาชน ผู้ให้บริการด้านสุขภาพ ภาครัฐ และสถาบันการศึกษาคือกุญแจสำคัญในการพลิกสถานการณ์โรคความดันโลหิตสูงในประเทศไทยให้ดีขึ้น ซึ่งทุกครั้งที่เลือกของว่างที่ดีต่อสุขภาพแทนของเค็ม ทุกก้าวที่เดินออกกำลังกาย และทุกครั้งที่เข้ารับการตรวจสุขภาพ ล้วนเป็นอีกหนึ่งก้าวที่พาเราทุกคนเข้าใกล้สุขภาพหัวใจที่ดีขึ้น
หากต้องการทราบว่าโปรแกรมและหลักสูตรของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ (SGU)สามารถช่วยพัฒนาแพทย์รุ่นใหม่ในประเทศไทยให้มีความรู้ความสามารถในการรับมือกับปัญหาสุขภาพระดับโลกได้อย่างไร สามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์ของ SGU ได้ที่นี่