HAPPENING BKK
NLINE MAGAZINE
×
ดอยคำสร้างแนวร่วม ผุดโครงการ "สร้างโลกสีเขียว" เติมพลังขับเคลื่อนสังคมไร้ขยะ
by L. Patt
11 มิ.ย. 2565, 11:46
  1,012 views

หลังจากรณรงค์แคมเปญ ""แกะ ล้าง เก็บ" มาได้ 4-5 ปี เพื่อนำบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วกลับมาสู่ขบวนการรีไซเคิล ดอยคำปรับกลยุทธ์ใหม่ยกระดับแนวทางแก้ปัญหาขยะ จับมือภาคีเครือข่ายนำร่อง 15 หน่วยงานภาครัฐ-เอกชน เปิดโครงการ สร้างโลกสีเขียว เร่งผลักดันการกำจัดขยะอย่างถูกวิธี

คุณพิพัฒนพงศ์ อิศรเสนา ณ อยุธยา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ดอยคำ ผลิตภัณฑ์อาหาร กล่าวว่า นอกจากการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ของเต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) ที่ใช้เยื่อกระดาษจากป่าปลูก ดอยคำมีความพยายามในการเก็บคืนบรรจุภัณฑ์ใช้แล้ว เพื่อกระตุ้นจิตสำนึกของครอบครัวในการจัดเก็บขยะ และนำเข้าสู่วงจรรีไซเคิล โดยเกิดจากแนวคิดที่ว่า เราเป็นผู้สร้างขยะ เราก็ต้องเป็นผู้เก็บ ซึ่งแต่ละปีจะมีปริมาณถึง 40-70 ล้านกล่อง

 fvp8e

แม้จะมีการรณรงค์มาอย่างต่อเนื่องพร้อมกับให้ผลตอบแทนเป็นแรงจูงใจแก่ผู้บริโภคที่นำกล่องผลิตภัณฑ์ดอยคำมาคืนตามจุดต่างๆ แต่ก็ยังไม่ได้ผลตอบรับมากนัก ดังนั้น ดอยคำจึงริเริ่มสร้างภาคีเครือข่ายจากหน่วยงานหลายภาคส่วน เพื่อให้เกิดพลังในการลดปัญหาขยะได้มากยิ่งขึ้น

คุณพิพัฒนพงศ์ บอกอีกว่า แม้จะเป็นบริษัทเล็กๆ แต่ดอยคำดำเนินธุรกิจได้ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาติ (UN Sustainable Development Goals ) ถึง 16 ข้อ เหลือเพียงข้อเดียวคือ ทรัพยากรทางทะเล ซึ่งดอยคำมีโครงการจะนำวัสดุใช้แล้วไปสร้างประการังเทียม ตั้งใจว่า ภายใน 5 ปีข้างหน้า ผลิตภัณฑ์ดอยคำทั้งหมดจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ ซึ่งจะต้องควบคุมดูแลขบวนการผลิตทั้งระบบ ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง และสามารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน

ด้าน ดร. ทวี อนันตรัตนา กรรมการผู้จัดการ บริษัท เบสท์โพลิเมอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด กล่าวว่า สิ่งที่คาดหวัง คือ ทำอย่างไรจะนำขยะพลาสติกที่ตกค้างกลับเข้าสู่ระบบรีไซเคิลอย่างถูกวิธีให้ได้มากที่สุด ซึ่งจะต้องมีความร่วมมือกันจากทุกภาคส่วนให้มากยิ่งขึ้น

ปัญหาขยะในประเทศไทยนับวันยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะปัญหาขยะตกค้างในสิ่งแวดล้อม และการกำจัดขยะไม่ถูกวิธี แต่ละปีมีปริมาณขยะถึง 29 ล้านตัน ในจำนวนนี้ 60% เป็นขยะอินทรีย์ ส่วนขยะที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้มีราว 30% ซึ่งประมาณครึ่งหนึ่งเป็นขยะพลาสติก โดยประเทศไทยมีการผลิตพลาสติกมากถึง 8.5 ล้านตันต่อปี และเป็นพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง (single-use plastic) ราว 2  ล้านตัน แต่มีการนำกลับมาสู่ระบบรีไซเคิลไม่ถึง 20% จึงทำให้มีขยะตกค้างราวๆ เกือบ 2 ล้านตันต่อปี

ดร. ทวี ชี้ว่า ทุกวันนี้ การออกแบบบรรจุภัณฑ์มีความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ขบวนการทำรีไซเคิล และ อัพไซคลิ่ง มีความยุ่งยากมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ยริษัทก็ต้องทำให้ต้องวิจัยและพัฒนาเพื่อนำเอาขยะมาเปลี่ยนวงจรให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์อื่น และเพิ่มมูลค่าได้

ขณะที่ ดร. ศิริกุล เลากัยกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท แบรนด์บีอิ้ง จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างและพัฒนาแบรนด์ไปสู่ความยั่งยืน เข้ามาให้คำปรึกษาโครงการฯ พร้อมเสนอแนะว่า  การเข้าในไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่มีต้อสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องสำคัญ เพราะฉะนั้น การทำแคมเปญสร้างโลกสีเขียวให้ได้ผลจะต้องสอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่แตกต่างกัน

ด้านผู้ประกอบการ ต้องคิดตั้งแต่การผลิต การออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่จะให้เกิดขยะน้อยลง ทำยังไงให้สามารถนำมารีไซเคิล หรือนำไปสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ได้

ในมุมมองของคนสร้างแบรนด์ ถ้าทำเรื่องกรีนเป็นซีเอสอาร์ จะไม่มีวันยั่งยืน เพราะทำแล้วไม่มี commercial benefit เพราะฉะนั้น ซีเอสอาร์จะต้องเปลี่ยนมาเป็น ESG (Environment, Social and corporate governance) ซึ่งจะต้องกำหนดไว้ใน business model ไม่ใช่เป็นโครงการพิเศษ ซึ่ง G หมายถึง การวัดผลว่าดำเนินการอะไรในแต่ละปี และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ที่สำคัญ ภาคีเครือข่ายควรมีการกำหนดเป้าหมายของแต่ละคนให้ชัดเจน เช่น จะสามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้แค่ไหน อย่างไร

ดร. ศิริกุล เน้นย้ำอีกว่า ถ้าทำในมิติของการตลาด ถือเป็นการเริ่มต้นโครงการที่ดีงามมาก ฉะนั้น ทั้งภาคีเครือข่ายต้องมาช่วยกันคิดว่า จะทำการตลาดเรื่องนี้อย่างไรให้เซ็กซี่และสนุก เหมือนชวนคนมาซื้อของ

ดอยคำ เครือข่าย TEtra Packนอกจากดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร ภาคีเครือข่ายดังกล่าว อาทิ  บริษัท ไปรษณีย์ไทย องค์การเภสัชกรรม สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จุฬาลงกรณ์ใหมาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง องค์กรบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก บริษัท เต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) บริษัท เบสท์ โพลิเมอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล บริษัทแอดวานซ์ แมท บริษัท เมเจอร์ ซีเนเพล็กซ์ กรุ๊ป และบริษัท อำพลฟู้ด

เครือข่ายสร้างโลกสีเขียว ยังคงเปิดรับองค์กร หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชนที่ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการขยะที่ถูกวิธี เข้ามาร่วมโครงการ เพื่อช่วยเร่งขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายสังคมไร้ขยะได้อย่างเป็นรูปธรรม

ABOUT THE AUTHOR
L. Patt

L. Patt

ALL POSTS