HAPPENING BKK
NLINE MAGAZINE
×
พิเชษฐ กลั่นชื่น กับการแสดงกระตุ้นต่อมความคิดในวาระ “7 ทศวรรษแห่งสิทธิมนุษยชน”
by HappBKK
10 ธ.ค. 2563, 15:52
  1,165 views

สหภาพยุโรปและกรมคุ้มครองสิทธิฯ จัดการแสดงชุดพิเศษโดยตีความของสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชน 7 ฉบับ

        วันสิทธิมนุษยชน 2563:  ในวาระการครบรอบ 70 ปีของการประกาศให้วันที่ 10 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันสิทธิมนุษยชน สหภาพยุโรปและกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรมร่วมมือกันจัดงานภายใต้แนวคิด “7 ทศวรรษแห่งสิทธิมนุษยชน

   Human rights     และเมื่อวันที่ 7 และ 8 ธันวาคม ที่ผ่านมา มีการจัดการแสดงขื่อว่า “7” ที่ถ่ายทอดประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน ผ่านภาษาของนาฏศิลป์ร่วมสมัย จากพิเชษฐ กลั่นชื่น นักเต้นโขนและนักเต้นร่วมสมัยไทย ที่นอกจากจะจัดทำขึ้นเพื่อรำลึกถึงวันสิทธิมนุษยชนซึ่งตรงกับวันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปีแล้ว ยังสร้างสรรค์โดยตีความนำเสนอหลักการพื้นฐานของสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนทั้ง 7 ฉบับที่ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันไว้ ผ่านการแสดงของศิลปินนักเต้นโขนและนักเต้นร่วมสมัยไทย 14 คน รวมถึงบุตรสาวของคุณพิเชษฐ ที่มาแสดงในส่วนของของสิทธิเด็ก

CRC rights of child         นอกจากผู้ชมจะได้รับรู้อุปสรรคที่ทำให้คนบางกลุ่มเช่นผู้พิการ หรือคนไร้บ้านที่ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิและเสรีภาพของเขาได้อย่างเท่าเทียมแล้ว คุณพิเชษฐและคณะนักเต้นยังกระตุ้นให้เกิดการตั้งคำถามเกี่ยวกับประเพณีและค่านิยมบางประการที่เอื้อต่อการเลือกปฏิบัติในสังคมปัจจุบันอีกด้วย ดังจะเห็นได้จากฉากที่ตัวละครในวรรณคดีไทยสามตัวออกมาประท้วงเพื่อขอถอนพวกเขาเองออกจากวรรณคดีรามเกียรติ์

Ramayana        ตลอด 70 ปีของการเป็นสมาชิกสหประชาชาติ ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันในอนุสัญญาหลักด้านสิทธิมนุษยชน 7 ฉบับจากทั้งหมด 9 ฉบับ  อนุสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนทั้ง 7 ฉบับนั้น  ให้ความคุ้มครองสิทธิพลเมือง สิทธิทางการเมือง สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม  คุ้มครองสตรีและกลุ่มชาติพันธุ์จากการเลือกปฏิบัติ  ปกป้องสิทธิเด็กและสิทธิคนพิการ  รวมถึงคุ้มครองพลเมืองจากการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี  หลักการเหล่านี้บางส่วนได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญและกฎหมายของไทยแล้ว ในขณะที่บางส่วนยังคงเป็นร่างกฎหมายที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของรัฐสภา

        ในช่วงที่ผ่านมา  ประเทศไทยได้รับการยอมรับจากนานาประเทศว่าสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้เป็นอย่างดี  แต่ในขณะที่รัฐบาลไทยเริ่มวางแผนงานสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจหลังโควิด-19 นั้น  การนำสถานการณ์ที่กลุ่มคนชายขอบต้องเผชิญเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของแผนการฟื้นฟูประเทศก็ยิ่งมีความจำเป็นมากกว่าเดิม

     “การเคารพสิทธิมนุษยชนเป็นเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพที่สุดอย่างหนึ่งในการพัฒนาประเทศ ไม่ว่าจะเป็นในยามปกติหรือในช่วงหลังวิกฤตโลก” ท่านทูตเปียร์ก้า ตาปิโอลา เอกอัคีราชทูตสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยกล่าว  “ประสบการณ์ของเราในยุโรปสอนให้เราได้เรียนรู้ว่า  ประชากรที่อาศัยอยู่ในประเทศซึ่งยกย่องและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนนั้น  มักจะประสบความสำเร็จทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมมากกว่าประชากรในประเทศอื่นๆ  ในช่วงเวลาแบบนี้  เราคิดว่าประเด็นนี้ยิ่งมีความสำคัญมากกว่าเดิม”

       กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพเป็นหนึ่งในหน่วยงานหลักที่ขับเคลื่อนประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย  ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ สหภาพยุโรปได้ประสานงานอย่างใกล้ชิดกับกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพเพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจด้านสิทธิมนุษยชนในหมู่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากหลากหลายกลุ่ม   ความร่วมมือที่ผ่านมาระหว่างทั้งสององค์กรเพื่อรำลึกถึงวันสิทธิมนุษยชน ได้แก่ การจัดสัมมนาเกี่ยวกับสิทธิของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ และกลุ่มผู้ทุพพลภาพ งานวิ่งเพื่อส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ตลอดจนนิทรรศการศิลปะสื่อผสม “The Art of Human Rights” ในปีที่ผ่านมา ซึ่งสร้างความสนใจให้แก่ผู้คนราว 6,000 คนในเรื่องสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน

       “เราได้ดำเนินการเพื่อส่งเสริมสิทธิมนุษยชนผ่านการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายต่างๆ ให้มีความก้าวหน้าและการดำเนินกิจกรรมประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างความตระหนักรู้แก่สาธารณะชน ซึ่งในจุดนี้ต้องขอขอบคุณความร่วมมือที่เรามีกับสหภาพยุโรป” นายเรืองศักดิ์ สุวารี อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กล่าว “การเป็นภาคีของอนุสัญญาทั้ง 7 ฉบับนั้นเป็นพัฒนาการที่ไทยสามารถมองย้อนกลับไปได้อย่างภาคภูมิใจ เพราะมันเป็นดัชนีหนึ่งที่บ่งชี้ความสำเร็จของเราในด้านสิทธิมนุษยชน  แต่เป้าหมายสูงสุดของเราก็คือการทำให้พันธกรณีระหว่างประเทศเหล่านี้กลายเป็นบรรทัดฐานทางสังคมและวิถีปฏิบัติในชีวิตประจำวัน”

 

ABOUT THE AUTHOR
HappBKK

HappBKK

Live Every Day

ALL POSTS