2 นิทรรศการใหม่น่าชม Unnecessary Drama และ Emotional Virus ที่ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก
ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก ได้เปิด 2 นิทรรศการใหม่ที่ชั้น 2 คืองาน Unnecessary Drama และ Emotional Virus เปิดให้ชมถึง วันที่ 31 สิงหาคมนี้
Unnecessary Drama
นิทรรศการเดี่ยวครั้งแรกโดยศิลปินไทย อาร์ม วันทยา ธิติไพศาล ที่ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก นิทรรศการนี้นำเสนอโดยคิวเรเตอร์หลุยส์ ซัพเพิล (Louis Supple) ซึ่งจัดแสดงคอลเลคชั่นผลงานของศิลปินที่ได้ใช้เวลาสร้างสรรค์กว่า 2 ปี โดยผลงานทั้งหมดแสดงให้เห็นถึงมุมมองที่ วันทยา มีต่อบทสนทนาและเหตุกาณ์ในชีวิตประจำวัน
เขาบอกว่าตัวเองเป็นแค่ ‘เพื่อนของตัวเอก’ ที่ไปอยู่ในเหตุการณ์ต่างๆ โดยตัวเขามักจะเป็นผู้สังเกตการณ์ ระหว่างบทสนทนาเขามักจะพยายามเล่นบทเป็นผู้ฟังที่ดีและไม่ค่อยแสดงความคิดเห็นมากนัก
เขาบอกว่า “สำหรับผม ไม่ว่าผมจะบ่น จะวิจารณ์ หรือเข้าไปมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ไหนๆ มันก็ไม่เคยสร้างความเปลี่ยนแปลงอะไร”
เขาเลือกที่จะสื่อสารความคิดเห็นของเขาออกมาผ่านทางภาพวาด โดยผู้ชมจะได้เห็นการตีความและมุมมองของศิลปินที่ถูกกลั่นกรองออกมา
แม้งานของวันทยาจะเน้นไปที่การตีความปฏิสัมพันธ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคม แต่ผลงานของเขาก็ยังสื่อถึงความอ่อนไหวและความเข้าอกเข้าใจ เขากล่าวว่า “ท่ามกลางดราม่าต่างๆที่เกิดขึ้น ผมมักมองหาด้านที่ตลกของมัน ผมมักจะแซว ล้อเลียนคนอื่นๆ รวมไปถึงตัวผมเองด้วย เพื่อทำให้ตัวผมใจเย็นลง” ส่วนที่สนุกสนานนี้ถ่ายทอดในรูปแบบตัดทอนที่ดูง่ายคล้ายการ์ตูน
เขาบอกเล่าเรื่องราวธรรมดาๆ ที่พบเจอได้ทุกวันไปจนถึงประเดนปัญหาทางสังคมและการเมือง
ผลงานของวันทยา แต่งแต้มไปด้วยสีสันสดใสของสีชมพูกุหลาบ, สีเหลืองทอง และสีฟ้าเข้ม ซึ่งแสดงถึงอารมณ์และการรับรู้ที่เขาได้เจอจากสถานการณ์ต่างๆทั้งจากอดีตและปัจจุบัน
องค์ประกอบภาพที่เป็นเอกลักษณ์ถูกนำเสนออย่างกระชับและชัดเจน นอกจากนี้ สิ่งที่ปรากฎอยู่ในผลงานของเขามาโดยตลอดคือ ‘ความขัดแย้ง’ แต่หากสังเกตอย่างถี่ถ้วนแล้ว จะพบว่าผลงานของเขาได้ประกอบสร้างจากเรื่องราวอันซับซ้อนอย่างพิถีพิถันภายใต้รูปทรงอันเรียบง่าย
ผลงานส่วนใหญ่ของวันทยาไม่อาจบ่งบอกได้ว่าเป็นงานรูปลักษณ์หรืองานนามธรรม โดยเขาจะสร้างเรื่องราวโดยใช้อวัยวะส่วนต่างๆในการเล่าเรื่อง ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้มือเป็นตัวละครหลัก ภายใต้ความคลุมเครือนี้ เขาเปิดกว้างให้ผู้ชมตีความหมายของแต่ละภาพด้วยตัวเอง
ภาพของวันทยาเป็นเวอร์ชั่นที่ตัดทอนมาจากสถานการณ์ที่เขาพบเจอ เขาจงใจไม่นำเสนอสีหน้าของตัวละคร เพราะมันมักจะสร้างอารมณ์และความดราม่าที่เกินจำเป็น นอกจากนั้นเป้าหมายในการสร้างผลงานในแนวทางนี้ เพื่อแสดงสิ่งที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นภาพด้านเดียวของเหตุการณ์ให้กลายเป็นฉากของการกระทำที่คลุมเครือ จนทำให้ผู้ชมตั้งคำถามกับสิ่งที่เคยรับรู้
Emergency Virus
นิทรรศการเดี่ยวของนภัส ลีฬหพงศ์ ศิลปินรุ่นใหม่และครู