HAPPENING BKK
NLINE MAGAZINE
×
 กว่าจะเป็น The Food Venture "สำรับ ข้ามโลก" สารคดีฝีมือคนไทยเรื่องแรกบน iFlix
by ซัมเมอร์
28 ก.ย. 2561, 00:02
  1,991 views

คุยกับ "นิธิพงศ์ สุริยะ" ถึงที่มาของสารคดีเกี่ยวกับอาหารหลากมิติที่ไม่ใช่ cooking show

The Food Venture สำรับ ข้ามโลก สารคดีฝีมือคนไทยเรื่องแรก ที่ได้ฉายใน 40 ประเทศผ่านทาง iflix สารคดีชุดนี้มีที่มาอย่างไร และทำไมจู่ ๆ นิธิพงศ์ สุริยะ ผู้ตั้งตำแหน่งให้ตัวเองว่า Chief Documentary Officer จึงได้ลุกขึ้นมาทำสารคดีทั้งที่ไม่ทำงานโปรดักชั่นมาก่อนเลย และทำไมต้องเป็นสารคดีอาหาร

จุดเริ่มต้น อะไร trigger ให้มาทำสารคดี จากที่ไม่เคยทำงานด้านนี้มาก่อน

        เพราะผมได้ดูรายการสารคดีดีของต่างประเทศแล้วคิดว่าประเทศไทยน่าจะมีรายการสารคดีเกี่ยวกับอาหารและไม่ใช่ cooking show แบบ เอากระทะมาตั้ง แต่เป็นรายการแบบ multi-culinary journey ที่พาถอยจากเมนู ไปสู่แหล่งที่มา มรดกทางอาหาร วัฒนธรรม วิถีชีวิต และ มิตรภาพ พาไปดูประเทศที่ยังไม่ค่อยมีรายการไทยไปถ่ายทำ 

        พอดี พณ ท่าน ปองพล อดิเรสาร มาถามว่าไม่อยากทำสารคดีบ้างเหรอ จะถ่ายทอดให้ (ทั้งความรู้และfunding) ก็เลยได้ท่านมาเป็น executive producer และ คุณ บัว ปัทมน อดิเรกสาร มา เป็น co-executive producer ช่วยเหลือหา sponsor 

        สำรับ ข้ามโลก เป็น งานชิ้นแรกของผม ไม่เคยทำงาน TV production & producing มาก่อน ดังนั้นมันจะไม่ถูกทฤษฎีของสารคดีเลยเสียทีเดียวแบบที่ฝรั่งเค้าจะใส่ drama, obstacle และ solution ใน story แต่เราพยายามเล่าให้มันดูง่ายสำหรับคนในวัยต่างๆ เน้นสาระจริงๆ แต่ cinematography สวยๆ ฮิปสเตอร์ ให้คนยุค online เข้าถึงได้

วางคอนเสปต์ไว้อย่างไรในขั้นแรก และการหาทีมงานใช้คนกี่คนในการทำงาน ใช้กล้องแบบไหน

        Concept คือ multi-culinary journey เพราะผมคิดว่าอยากทำให้แตกต่างจากการที่เราไปเมืองๆ หนึ่งและก็ถ่ายว่าเมืองนี้มีอะไร มาบอกว่าถนนนี้มีร้านนี้ดีนะ เชฟคนดังอยู่ตรงนี้ อาหารหรูราคาแพงอยู่ที่นี่ มาเป็นการเสาะหาวัฒนธรรมอาหารของประเทศที่ไปยากหน่อย แล้วสอดแทรกความเหมือนหรือต่างกันของอีกประเทศใน topic เดียวกันเพื่อหาข้อสรุปทางวัฒนธรรมและมรดกทางอาหารว่าอยู่ตั้งไกลกันทำไมคล้ายกันได้ หรือทำไม่product เหมือนกันวิธีการต่างกันขนาดนี้ เป็นต้น

        ออกกองจริงๆ 2-3 คน ไม่ว่าจะประเทศไหน Equipment ก็ใช้ของที่มีอยู่ เพราะผมถ่ายภาพมา 20 ปีแล้ว มี full frame dslr ครบทุกยี่ห้อแล้วมั้งครับ ก็เลือกใช้จาก stock ที่มี บวก drone และ เลนส์ หลายๆช่วง

ทำไมเลือกที่จะทำตอนละสามสี่ประเทศ 

        พอเราเล่าเรื่องเดียวแต่สลับที่มันทำให้เกิดdynamic มันดูมีมิติที่ดีขึ้น ไม่ dry เพราะสารคดีในความคิดของผมสมัยเด็กๆ คือมันน่าเบื่อ เล่าเป็นเสียง monotone ไม่ชวนติดตาม เราก็เลยมาลงเลือกประเทศเคนยา เป็นตัวแทนของอาหารแอฟริกัน, ชนเผ่ามาไซ, ซาฟารี วัฒนธรรมการทานเนื้อ การล่าสัตว์ และกำเนิดของแหล่งกาแฟ

        ภูฏาน  ตัวแทนของความ organic ไม่มีปุ๋ย ไม่มีสานเคมี, คาร์บอนไดออกไซด์ติดลบ, ใช้น้ำสะอาดจากหิมะที่ละลายจากหิมาลัยมาทำการเกษตร, ออสเตรเลีย ตัวแทนวัฒนธรรมตะวันตก การผสมผสานของหลายเชื้อชาติ ฟาร์มวัว และแหล่งกาแฟที่ฮิปสเตอร์ที่สุดในโลก และไทย ที่เราเน้นโครงการหลวงและดินแดนเพาะปลูกในภาคเหนือเป็นหลัก เพื่อเผยแพร่พระราชกรณียกิจ

ทำให้ต้นทุนสูงมากหรือเปล่า

        สูงแต่ไม่ได้สูงมากๆ เอเจนซี่คิดว่าเราใช้เกือบ 10 ล้าน แต่จริงๆเราน้อยกว่านั้นเยอะมาก เพราะออกกองแค่ 2-3 คน  และผมรับหลายหน้าที่แบบไม่มีค่าตัว ทั้งหาสถานที่ คุยกับฟาร์มกับเชฟ, เป็นกล้อง 2 ด้วย, บิน drone ด้วย, ขับรถใน ตปท เองด้วย, ทำข้าวเย็นให้กองด้วย, ทำ post production บางส่วนด้วย ไม่ว่าจะเป็น poster, caption ต่างๆ, งาน artwork, ทำ credit, จองโรงแรม, หาไกด์ท้องถึ่น, เป็น interviewer, เขียน spot บางตอน, พิสูจน์อักษร, เลยตั้งตำแหน่งตัวเองใน title รายการ ว่า Chief Documentary Officer โดยปริยาย และมีคุณอู๋ ธนากร โปษยานนท์ มาบรรยายให้ ถ้า outsourcing งานข้างบนทั้งหมดก็คงถึง 10 ล้านอย่างที่เอเจนซี่คิดมั้งครับ

มีอะไรสนุก เรื่องไม่คาดคิด การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า การผจญภัย

        ไม่มีวันไหนที่ไม่สนุก และไม่ผจญภัย ทุกวันคือเส้นทางใหม่ที่ไม่เคยไปทั้งหมด มันเป็น culinary experience ที่หาไม่ได้, มีเชฟฝรั่งคนหนึ่งเดินมาบอกผมว่า Do you know that you have the best job in the world? ที่ได้ไปมา 3-4 ทวีป เจาะลึกเรื่องอาหาร ได้ชิมอะไรมากมายและมี footage เยอะแยะอยู่ใน content ของเรา

        เรื่องที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นที่ภูฏานที่เป็นดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ เป็น หนึ่งในสอง Kingdom ของโลกที่นับถือศาสนาพุทธ (อีก Kingdom หนึ่งคือ Thailand นั่นเอง) เหตุการณ์แรก เราถ่ายทำการฝัดและสีข้าวที่เมืองพูนาคาในสภาพเศษข้าวเต็มตัว และได้แวะถ่าย stock ที่ Phunaka Tsong, ขณะถ่ายอยู่มีขบวนเสด็จของ พระราชินี Ashi Sangay Choden Wangchuk ผ่าน ผมโค้งและคุณบัวถอนสายบัวอยู่ริมถนน (ทั้งถนนมีเราแค่สองคนและไกด์) ท่านรับสั่งให้ขบวนรถหยุดและให้เราเข้าเฝ้าที่ริมถนนและมีพระปฏิสันถารกับเราอยู่พีกใหญ่ เนื่องจากจำเราสองคนได้เพราะเคยถวายงานท่านที่ประเทศไทยผ่านน้าคุณบัว ที่เป็นข้าในพระองค์ท่าน ซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่โตที่ภูฏานเพราะไม่มีพระบรมวงศานุวงศ์หยุดทักสามัญชนตามข้างทางแบบนี้ และไกด์เองก็รีบวิ่งหายไปเพราะห้ามอยู่ไกล้ในระยะ100 เมตร ถือเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้น อีกเรื่องประทับใจคือการพบว่าพระประชาชนภูฏานรักในหลวงรัชกาลที่ 9 ของเราเหลือเกิน

มีความยากลำบาก ปัญหา อุปสรรคอะไรบ้าง

        ไม่มีอะไรยากถ้าเราวางแผนดีๆ ลำบากไหม เคนยา ลำบากนะ แต่ผมอยู่ได้ เหมือนไปสอบ รด. เรานอนค้างคืนบนทรายแล้วทั้งคืน หรือตอนที่เคยบวชก็นอนในป่าไผ่มืดๆ มีแมลงไม่ทราบตระกูลมากมายรอบๆตัว ก็เลยคิดว่าไม่ลำบาก ไม่มีอุปสรรค       ปัญหาเดียวที่มีคือ มี footage เยอะเกินไป, ถ่ายมาเยอะมาก เราต้องส่งให้คุณนุ่น – โสมนัส สุจริตกุล เขียนสคริปต์ตามfootage ที่มากองอยู่ซึ่งมันท้าทายเนื่องจากเราไม่ได้ทำตามทฤษฎีที่เขียน storytelling &drama ก่อนออกกองเพราะเรามีข้อจำกัดเรื่องเวลาและทรัพยากร เราไปถ่ายภาพมาตามหัวข้อแล้วมาเขียนเรื่องตามทีหลัง เลยไม่ค่อยดราม่าแต่เป็น documentary serie ที่เสนอ fact เสียมากกว่า สู้ฝรั่งได้ที่ภาพสวยมากๆและเนื้อหาลึกไม่แพ้กัน

สิ่งที่ยากที่สุดในขั้นตอนการทำสารคดี

         Research & story telling เพราะเรามีข้อจำกัดทางด้านเวลาและทรัพยากรทำให้ตอนขึ้น project ต้องนั่งตกผลึกความคิด สร้างโครงของseries, วาง topic, และเจาะลึกหัวข้อนั้นๆในแต่ละประเทศ เมื่อถ่ายทำมาแล้วก็ต้องมาเขียนเรื่องราวให้เข้ากับภาพซี่งท้าทายผู้เขียนบทเช่นกัน

        การขอถ่ายทำก็ค่อนข้าง challenge เพราะในส่วนของ ตปท ผมคุยเองเกือบทั้งหมดยกเว้นภูฏานต้องมีล่ามแปล บางประเทศโลกที่สามถือว่าการถ่ายทำเราไปใช้เขา เขาควรจะได้รายได้ แต่ประเทศอย่างออสเตรเลียนอกจากให้ถ่ายทำแล้วยังจะให้เงินเราอีกเพราะถือว่าเรา promote ให้ Production และ Post Production ไม่ยากเท่า Pre ครับ

        ที่ไม่ยากแต่แย่มากๆคือมีคนไทยกลุ่มหนึ่งลักลอบเอาผลผลิตทางปัญญาของเราไปตัดต่อ (ตัดคือตัดเอาเครดิตต้นและท้ายรายการออก) แล้วไปลงใน Youtube ของตัวเองเอายอดวิว 4-5 แสนต่อตอนใน ไม่กี่วัน ทั้งหมด 20 ตอน คือหากินกันง่ายๆแบบไทยๆนี่แหละ นั่งอยู่บ้าน copy ของคนอื่นเค้า ได้เงินง่ายดี แต่น่ารังเกียจครับ 

สุดท้ายผลงานออกมา ได้อย่างที่คาดหวังไหม

        ถ้ามองในแง่ ภาพ เสียง สถานที่ เรื่องราว เกินคาดหวังไปมาก อย่าง Episode 6 นี่เป็น Masterpiece อันหนึ่งเลยที่เราพาไปดูฟาร์มวากิวในออสเตรเลีย และมาจบที่ Chef ชื่อดังทำ Tomahawk ให้ดูที่ร้าน คุณภาพงานสู้ต่างประเทศได้ ในความคิดของผม เพราะส่งให้ฝรั่งหลายวงการ (วงการdocumentary, วงการอาหาร, วงการ design&artist) ดูและ wow กัน ตรงนี้ก็หายเหนื่อยครับ

ฟีดแบคจากผู้ชม การฉายในช่องวัน ไลน์ และไอฟลิกซืเข้ามายังไง

        99.9% ชอบกันมาก มันเป็นการปฏิวัติรูปแบบการทำสารคดีของไทยเล็ก ให้ความรู้เชิงลึกอย่างจริงจัง comment ที่ส่งกันเข้ามาทำให้เรารู้ว่าเค้าดูจนจบ และชอบจริงๆ และขอให้ทำตลอดไปทุกอาทิตย์เพราะชอบรายการแบบนี้มากๆ 

        Feedback บน Line TV ประมาณ 2-3 แสนวิวต่อตอน ถือว่าดีสำหรับรายการแนวนี้

        ในส่วนของ iFlix ผมได้ขอเข้าไปเสนองานและรูปแบบซึ่งทีมงานเค้ามองว่ามันเป็น premium documentary น่าสนใจ เราเลยทำ English Subtitle เพิ่มเพื่อให้ได้ฉายได้นอกประเทศไทยอีก 40-50  ประเทศครับ 

มีงานหรือใครเป็นไอดอล ในส่วนภาพยนตร์สารคดีไหม 

        ผมยังใหม่มากๆ อาจจะดู documentary ไม่ถึง 200 เรื่องเลยมั้ง แต่มีสองเรืองที่ inspired ให้ผมทำสำรับข้ามโลกคือ Cooked และ Chef’s Table   ส่วนจะมีปัญญาทำเรื่อง food ต่อไหมยังไม่แน่ใจครับ

มีความคาดหวังในอนาคตอย่างไร สำหรับสารคดีไทย และงานที่จะทำต่อไป

        สิ่งที่ทำทันทีหลัง produce สำรับข้ามโลกเลยคือ บินไปเรียน Documentary Making ที่ London Film Academy เพราะรู้ว่าเรา novice มากๆ และยังต้องพัฒนาอีกเยอะถ้าจะไปให้ถึง Documentary Film Festival อย่างที่บอก เราทำด้วย passion ไม่รู้ทฤษฎี ตอนนี้เรียนกลับมารู้แล้วประมาณหนึ่งแต่ยังมีข้อจำกัดในการทำต่อ อาจจะรอให้พร้อมทั้ง เวลา ทรัพยากร และ funding อาจจะได้เห็น Greek & Roman Food Venture หรือไม่ก็ฉีกไปทำ Independent Documentary ส่ง Film Festival แทนครับ 

         แต่ที่คิดจะทำปีหน้าอาจจะเป็น หนังสือ journey สวยๆของสำรับข้ามโลก มาประกอบการเดินทางให้ใช้ content ส่วนที่ไม่ได้ออนแอร์มาลงให้อ่านกันเพิ่มครับ

สามารถรับชม Food Venture ได้ ทาง LINE TV และ iflix

STORY BY : ซัมเมอร์

 

ABOUT THE AUTHOR
ซัมเมอร์

ซัมเมอร์

เขียนหนังสือ แปลหนังสือ เป็นคอลัมนิสต์พลอยแกมเพชร หลงไหล K-pop และติดตามวงการแฟชั่น

ALL POSTS