HAPPENING BKK
NLINE MAGAZINE
×
 In Bruges (It’s Belgium)
by Zillah
7 มี.ค. 2561, 11:18
  2,184 views

 

        ‘It’s a fairytale town, isn’t it? How’s a fairytale town not somebody’s f***ing thing? How can all those canals and bridges and cobbled streets and those churches, all that beautiful f***ing fairytale stuff, how can that not be somebody’s f***ing thing, eh?’ (In Bruges, 2008)

 

        ฉากหนึ่งในหนัง In Bruges ที่ Ralph Fiennes พูดถึงเมืองบรูจว่าเป็นเมืองแห่งเทพนิยาย เมืองที่เต็มไปด้วยคลอง สะพาน และถนนที่ปูด้วยหิน และโบสถ์จากยุคกลาง เมืองที่ใครๆ ก็หลงใหล นักท่องเที่ยวมาที่นี่ก็เพราะสิ่งเหล่านี้ แล้วก็ได้ซื้อเบียร์ ช็อคโกแลต งานลูกไม้ถัก ติดไม้ติดมือไปฝากเพื่อนฝูง

หนึ่งในสี่กังหันลมที่ถูกเก็บไว้เป็นพิพิธภัณท์
มุมหนึ่งของเมืองที่ถูกถ่ายรูปมากที่สุด

แรกเริ่มเดิมที

        ศตวรรษที่ 13 แหล่งค้าขายที่สำคัญคือยุโรป ยังไม่มีการค้นพบทวีปอเมริกา หรือทวีปออสเตรเลีย สินค้าเดินทางมาจากทั่วโลกเข้ามาในยุโรปแหล่งศูนย์กลางการค้าขายที่สำคัญตอนนั้นก็คือแคว้น Tuscany แล้วก็ Low Countries (ปัจจุบันคือเบลเยี่ยมและฮอลแลนด์ในปัจจุบันเมื่อกษัตริย์อังกฤษสมัยนั้นเกิดไม่ลงรอยกับเมืองอื่นๆ เรื่องการค้าขาย จึงเลือกเมืองบรูจเป็นเมืองคู่ค้าเอาสินค้าจากอังกฤษมาลงที่ท่าเมืองบรูจประกอบกับชาวอิตาเลี่ยนสามารถผลิตเรือเดินทางเพื่อขนสินค้าออกทะเลได้ พ่อค้าจากยุโรปทางใต้จึงสามารถเดินทางมาค้าขายกับทางเหนือได้สะดวกขึ้น แทนที่จะต้องใช้เรือเล็กๆ เดินทางล่องแม่น้ำมาทางเหนือ เมืองบรูจก็ไม่รอช้า ขุดคลองออกไปทะเลเพื่อให้เรือสินค้าขนาดใหญ่แล่นเข้ามาถึงใจกลางเมืองได้โดยไม่ต้องขนถ่ายของลงเรือเล็กก่อน บรูจเลยกลายเป็นศูนย์กลางการค้าขายที่สำคัญที่สุดของยุโรปตอนเหนือในยุคนั้น

ถิ่นชาวสแปนิช

         สินค้าที่วางขายกันก็มาจากหลายแหล่ง ผ้าขนสัตว์ ชีส หนังสัตว์ สังกะสี และถ่านหินจากประเทศอังกฤษ ส่วนสินค้าจากประเทศแถบสแกนดิเนเวียก็จะเป็นพวกผลิตภัณฑ์ปลา หนังสัตว์ ไขมันสัตว์ ผลผลิตจากประเทศแถบยุโรปตะวันออกและรัสเซีย ก็จะผ่านมาทางพ่อค้าจากเยอรมันสินค้าจากตะวันออกและแอฟริกา ก็จากถูกนำเข้ามาโดยพ่อค้าจาก ประเทศอิตาลี สเปน หรือ โปรตุเกส สินค้าจากฝรั่งเศสก็จะเป็นพวกไวน์น้ำมันมะกอก (ไวน์จาก Bordeaux จะถูกนำไปขายในอังกฤษเป็นส่วนใหญ่เพราะรสชาติถูกปากคนที่นั่ ที่มาขายที่บรูจก็จะมาจาก Loire valley เป็นส่วนใหญ่) ส่วนชาวสเปนนั้นได้มาตั้งรกรากในบรูจมากมายจนถนนทั้งสายมีแต่บ้านชาวสแปนิช และชื่อถนนก็ถูกตั้งว่าSpanjaardstraat (Spanish street)

 

Trading Exchange

         เมื่อบรูจกลายเป็นเมืองหลักในการค้าขาย ก็ต้องมีการแลกเปลี่ยนเงินตราเพื่อนำกลับไปประเทศของตัวเอง อาชีพที่เกี่ยวกับการเงินในเมืองบรูจสมัย 700 ปีก่อนก็จะมี สองแบบหลักๆ คือ

        Money trader คือคนที่แลกเปลี่ยนตัวเงินจริงๆ คนที่ทำอาชีพนี้ต้องเป็นคนจากบรูจเท่านั้น จะมีหน้าที่ตีราคาค่าเงินสกุลต่างๆ แล้วก็รับแลกเปลี่ยนเงินและโลหะมีค่าทั้งหลาย และก็ยังรับเปิดบัญชีฝากเงินให้พ่อค้าทั่วไปเหมือนธนาคารในปัจจุบัน พ่อค้าเงินตราเหล่านี้จะทำกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน และก็ยังได้ทำกำไรจากการเอาเหรียญเงินเก่า (ซึ่งมีน้ำหนักมากไปหลอมแล้วตีเป็นเงินใหม่ที่มีน้ำหนักเบาขึ้น ก็ได้จำนวนเหรียญเพิ่มขึ้น ต่อมาในศตวรรษที่ 15 อาชีพนี้ถูกยกเลิกไปเพราะ กษัตริย์ Maximilian แห่ง Habsburg ผู้ครองเมืองในขณะนั้นออกกฎหมายห้ามมีการค้าขายผ่านบัญชีเงินฝาก และห้ามเอาเงินไปหลอมเอง เพราะรัฐบาลต้องการเป็นผู้ได้กำไรจากการหลอมเงินใหม่นั่นเอง

         ธุรกิจอีกอย่างของ money trader ก็คือเป็น คนออกเงินกู้ หรือ loan shark ใครจะไปคิดว่าอาชีพการปล่อยเงินกู้ขูดรีดคนจนนี่มีมานานหลายร้อยปีแล้ว เพียงแต่สมัยนั้นคงยังไม่มีเสาไฟฟ้าหรือสะพานลอยให้ติดป้าย "ปล่อยเงินกู้" เหมือนบ้านเราในปัจจุบัน มิหนำซ้ำเมื่อก่อนไม่ได้มีกฎหมายห้ามทำให้สามารถคิดดอกเบี้ยมหาโหดขนาดร้อยละ 40 กันเลยทีเดียว

        แต่ถึงแม้กฎหมายไม่ห้าม แต่อาชีพดังกล่าวขัดต่อหลักศาสนาคาธอลิคที่ห้ามคิดดอกเบี้ยขูดเลือดเนี้อชาวบ้าน จึงกลายเป็นอาชีพต้องห้ามไปเหมือนกัน เพราะศาสนาคาธอลิคสมัยก่อนต้องการให้คนมีความรับผิดชอบทางศีลธรรม

บ้านตระกูล De’ Medici

     Credit Exchanger คือคนที่ทำตัวเหมือนธนาคารในปัจจุบัน จะเป็นบุคคลที่ทำหน้าที่ออก wisselbrief (bill of exchange) ให้พ่อค้าต่างชาติ ซึ่งเปรียบคล้ายกับตั๋วเงินที่จะสามารถเอากลับไปขึ้นเงินสดที่บ้านตัวเองได้ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องถือเงินสดจากการค้าขายระหว่างเดินทางไกล อาชีพนี้ก็จะไม่จำกัดว่าต้องเป็นคนจากบรูจเท่านั้น จึงมีพ่อค้าจากต่างประเทศมากมายที่ทำตัวเป็น ธนาคารและหนึ่งในพ่อค้าที่ผู้คนสมัยนั้นเชื่อถือก็คือคนจากตระกูล De’ Medici มาจากเมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี Lorenzo De’ Medici ที่มาตั้งรกรากในบรูจระยะหนึ่ง 

 

Huis ter Buerse

         การคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินสกุลต่างๆ สมัยนั้นทำโดยพ่อค้าแต่ละชาติมารวมตัวกันแล้วตกลงราคากันเอง การประชุมนี้ก็มักจะจัดกันขึ้นที่โรงเตี๊ยมแห่งหนึ่งในใจกลางเมือง ชื่อ Huis ter Buerse ซึ่งเป็นกิจการของครอบครัว Buerse ต่อมาในปี 1531 เมือง Antwerp ตั้ง stock exchange จึงได้นำเอาชื่อไปใช้เป็น Antwerpse Beurs (Antwerp Exchange) คำว่า Beurs ยังถูกนำไปใช้ตั้งชื่อในลอนดอน (ซึ่งในสมัยElizabeth I ต้องเปลี่ยนไปใช้ Royal Exchange แทนและอัมสเตอร์ดัม (Beurs van Hendrick de Keyser)  

สภาพเมืองสมัยนั้น

ในยุโรป คำว่า Beurs ยังถูกใช้อยู่ แต่เปลี่ยนไปตามภาษา เช่น bourse, borsa, bolsa, borze, die Borse

 

ร่องรอยจากอดีต

        ปัจจุบันตัวโรงเตี๊ยม Huis ter Buerse ก็ยังคงอยู่ แต่ได้ถูกปรับเปลี่ยนเป็นสถานีวิทยุท้องถิ่น ในยุคโบราณโรงเตี๊ยมแห่งนี้เปรียบเสมือนโรงแรงห้าดาวในยุคปัจจุบัน เพราะที่นี่จะมีแต่นักธุรกิจเข้าพัก และโถงล้อบบี้ของโรงเตี๊ยมก็กลายเป็นสถานที่ติดต่อธุรกิจของพ่อค้าไปโดยปริยาย และในโรงเตี๊ยมแห่งนี้ก็จะมีผู้เชี่ยวชาญที่ปักหลักอยู่ในโรงเตี๊ยมคอยให้คำปรึกษากับพ่อค้าที่แวะเวียนมาหาข้อมูลการลงทุนทำการค้าอยู่เนืองๆ จนกิจกรรมนี้ถูกเรียกว่า Buerse purse ซึ่งกลายมาเป็นจุดเริ่มของ stock exchange ในปัจจุบัน

รอบๆ โรงเตี๊ยมก็จะมีสมาคมพ่อค้าจากเมืองต่างๆ มาตั้งสำนักงานประจำเพื่อบริการพ่อค้าจากเมืองตัวเอง

รอบๆ โรงเตี๊ยมก็จะมีสมาคมพ่อค้าจากเมืองต่างๆ มาตั้งสำนักงานประจำเพื่อบริการพ่อค้าจากเมืองตัวเอง

สมาคมพ่อค้าเมืองฟลอเรนซ์ ปัจจุบันเป็นร้านอาหารหรู

สมาคมพ่อค้าจากเมืองนาวาร์ (สเปน) กลายเป็นโรงแรมห้าดาว

        ยุคทองของเมืองบรูจยืนยาวเกือบสองร้อยปีก็เนื่องมาจากการขุดคลองเป็นทางออกไปสู่ทะเล พอเริ่มศตวรรษที่ 15 ความสำคัญของเมืองเริ่มลดถอยลงเพราะ คลองที่ขุดไว้เริ่มตื้นเขิน  ประกอบกับเมือง Antwerp เริ่มมีความสำคัญขึ้นจนกลายเป็นศูนย์กลางของ Low Countries 

 

        ในที่สุดยุคทองของเมืองบรูจก็สิ้นสุดลง จากที่เคยมีประชากรกว่าสองแสนคนเหลือเพียงแค่หลักหมื่ จนกระทั่งเมืองทั้งเมืองตกอยู่ในสภาพยากจน ผู้คนอพยพไปทำมาหากินที่เมืองอื่ มีการพยายามจะสร้างยุคทองขึ้นมาอีกหลายครั้ง แต่ก็สายไปเสียแล้ว 

 สมาคมพ่อค้าจากคาคาลุญญากลายเป็นส่วนหนึ่งของโรงพยาบาล/บ้านพักคนชรา
ชาวอังกฤษก็เคยมีสมาคมที่บรูจ ปัจจุบันกลายเป็นโรงเรียนประถม

        แต่เมื่อมองย้อนกลับไป การตกต่ำของเมืองบรูจในช่วงนั้นกลับกลายเป็นความโชคดี เพราะในช่วงสงครามโลกทั้งสองครั้ง เมืองสำคัญต่างๆ ในยุโรปต่างถูกทำลายราบเป็นหน้ากลอง แต่บรูจรอดพ้นมาได้ทั้งสองครั้ง และยังคงสภาพแทบจะสมบูรณ์ให้เราได้ชื่นชมสถาปัตยกรรมเหมือนหลายร้อยปีก่อน

 

ABOUT THE AUTHOR
Zillah

Zillah

Passionate, Curious, Quirky. Speaks English, Dutch and Thai

ALL POSTS